ฟ้อนเงี้ยว เป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าหนึ่ง เรียกว่า เงี้ยว มีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคเหนือ ของไทย อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ได้นำลีลาฟ้อนเงี้ยวมาปรับปรุงขึ้นใหม่ ในหลักสูตรวิชานาฏศิลป์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๘  บทร้องของฟ้อนเงี้ยวมีลักษณะเป็นบทอวยพร อาราธณาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพดาสิ่งศักดิ์ทั้งหลายมาปกป้องอวยชัยให้พร
เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ วงปี่พาทย์
การแต่งกาย แต่งได้ทั้งแบบชาวเขาและแบบที่กรมศิลปาการประดิษฐ์ขึ้น แสดงได้ทั้งชุดหญิงชาย และหญิงล้วน ผู้แสดงจะถือกิ่งไม้ในมือทั้งสองเพื่อปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีให้ออกไป
       ขออวยชัย พุทธิไกรช่วยค้ำ
  ทรงคุณเลิศล้ำ ไปทุกทั่วตัวตน
  จงได้รับสรรพมิ่งมงคล นาท่านนาขอเทวาช่วยรักษาเถิด
       ขอฮื่ออยู่สุขา โดยธรรมานุภาพเจ้า
  เทพดาช่วยเฮา ฮื้อเป็นมิ่งมงคล
  สังฆานุภาพเจ้า ช่วยแนะนำผลสรรพมิ่งทั่วไปเนอ
  มงคลเทพดาทุกแห่งหน ขอบันดลช่วยค้ำจุน