ระบำสุโขทัย

  

เป็นระบำโบราณคดี ที่ได้สร้างขึ้นตามความรู้สึกจากแนวสำเนียงของถ้อยคำไทยในศิลาจารึก ประกอบด้วย
ลีลาท่าเยื้องกรายอันนิ่มนวลอ่อนช้อยของรูปภาพปูนปั้นหล่อในสมัยสุโขทัย  ได้แก่ พระพุทธรูปปางสำริต และรูปภาพปูนปั้นปางลีลา  รูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์และท่าทีของพระพรหมและพระอินทร์
ที่ตามเสด็จ การแสดงระบำสุโขทัย จะรำตามจังหวะดนตรีไม่มีเนื้อร้อง

นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
๑.  จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้
หักข้อนิ้วชี้ลงมา
นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป
๒.  ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลัง
หงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า
๓.  ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัว
อยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน
๔.  ท่าพระนารยณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์
ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย
๕.  ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฎศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง หงายท้องแขนขึ้น
๖.  ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้างสะโพก มือจีบคว่ำแล้วสอดมือขึ้น
เป็นท่าสอดสูงเหนือศีรษะ
๗.  ท่าชะนีร่ายไม้ คิดจากมนุษย์โลกต้องการดำรงชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยหมุนเป็นวงกลมแทนการเวียน ว่าย ตาย เกิด
มือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งหงายท้องแขน ลำแขนตึง แบมือและชี้ปลายนิ้วลง มองมือสูง